วิธีสอนโดยใช้เกม
ความหมาย ( ทิศนา แขมมณี 2543 : 81 – 85 ) วิธีสอนโดยใช้เกม
เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่าง
สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง
เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรม
การเล่นของผู้เรียนเทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
ในการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพการเลือกและการนำเสนอเกม
เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า“ เกมการศึกษา &rdqu
วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน (Co – operative
Leanning)
ความหมาย เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ
กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน
และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน
นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนมีความร่วมมือ
ผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทวนความ อธิบาย และปฏิสัมพันธ์ ผู้เรียน
จะเรียนด้วยการลงมือกระทำ
ผู้เรียนที่มีจุดบกพร่องจะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม
ความมุ่งหมายของการสอน
ความมุ่งหมายของการเรียนแบบทำงาน รับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม
โดยยังคงรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น
จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จเท่านั้น
ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้
1. แนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คน สมาชิกแต่ละคน
ต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับให้ได้มากที่สุด
แต่ละกลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญใน หัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ดัวย
ทุกคนจะได้รับเกรดรายบุคคล และเป็นกลุ่ม
2. แบ่งกลุ่มให้คละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม
และสมาชิกบนป้าย นิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม
ก. ห้ามคนใดออกจากกลุ่มก่อนที่จะเสร็จงานกลุ่ม
ข. แต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบที่จะให้สมาชิกทุกคนเข้าใจและทำงานให้
เสร็จสมบูรณ์
ค. ถ้าผู้เรียนคนใดไม่เข้าใจเรื่องใด ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม
ก่อนที่จะถามผู้สอน
3. สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ
ซึ่งภายในบรรจุด้วย เนื้อหา ถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม
ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุด
ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจะศึกษา เรื่องนั้นด้วยกัน เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว
ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกใน กลุ่มเดิมของตน
4. ผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามา
ตรวจสอบความเข้าใจ และช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน
5. ประเมินผลและให้คะแนนแต่ละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอน
เพิ่มเติมหรือไม่ให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม
ทักษะการเร้าความสนใจ
การเร้าความสนใจสำคัญอย่างยิ่ง
จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนไม่เบื่อหน่าย เช่น การเล่านิทาน
การดูวีดีโอคลิป เป็นต้น
เทคนิคการเร้าความสนใจ
1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน
เช่น การมอง ยิ้ม ส่ายหน้า โบกมือ ผงกศรีษะ ชี้ กวักมือ เป็นต้น
2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง
ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน
ควรมีการเน้นหนักเบาในคำพูด
3.การเคลื่อนไหวของครู
ครูควรเปลี่ยนจุดนั่งและจุดยืนของตน
4.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรืออธิบายครูควรฝึกเน้นคำพูด
สำเนียง จังหวะ
ทักษะการใช้คำถาม
เวลาถามต้องถมอย่างมีจุดประสงค์ของการถาม ควรรู้ว่าคำถามมีหลายประเภท
แต่ละประเภทใช้เพื่ออะไร
ประเภทคำถาม มีอยู่ 3 ประเภท
1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน
เนคำถามง่ายๆไม่ต้องใช้คำถามลึกซึ้งอะไรมากนัก
2.คำถามเพื่อการคิดค้น เช่น
ถามความเข้าใจ การนำไปใช้ การเปรียบเทียบ เหตุผล สรุปหลักการ
3.คำถามที่ขยายความคิด
3.1การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์
ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายทาง
3.2การวางแผน คำถามที่ผู้เสนอแนวคิด วางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่ๆ
3.3การวิจารณ์ เป็นคำถมที่ผู้ตอบพิจารณาเรื่องราว ชี้ข้อดีข้อเสีย
3.4การประเมินค่า คือ การนำมาเปรียบเทียบกัน
เทคนิคการใช้คำถาม
1. ถามด้วยความมั่นใจ
2. ถามอย่างกลมกลืน
3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
4. ให้นักเรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
5. การเลือกถาม
บางครั้งครูควรเลือกถามเพื่อจุดประสงค์ของครู
6. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ
7. ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
8. การใช้กิรกยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม
9. การใช้คำถามรุกหมายถึง การใช้คำถามต่อเนื่อง
ที่มา
https://thanaphon160333.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น