วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

5. เทคโนโลยีทางการศึกษา และ เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา และ เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/444175

เทคโนโลยีการศึกษา คือ เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน 
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/444175


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=E5KApjJARZE


4. ทัพสัมภาระ กับวิธีคิดแบบวิเคราะห์ระบบคืออะไร และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร

ทัพสัมภาระ กับวิธีคิดแบบวิเคราะห์ระบบคืออะไร และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร

           ทัพสัมภาระ  คือ  เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ได้มาจากความก้าวหน้าทางโทรทัศน์ศึกษา  และคอมพิวเตอร์  เป็นต้น

           วิธีคิดแบบวิเคราะห์ระบบคือ การคิด  การกำหนดวิธีการนำเสนอการสอนในรูปแบบต่างๆ  ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอ วิทยุศึกษา    และให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ๆ

           มีบทบาทต่อเทคโนโลยีการศึกษา คือ  เราสามารถนำแนวคิดวิเคราะห์ระบบ และ ทัพสัมภาระ  มารวมกัน  เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน  เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น  และบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/150955

3.วิธีการหรือเทคนิคการสอน

วิธีการหรือเทคนิคในกระบวนการเรียนการสอน

วิธีสอนโดยใช้เกม
ความหมาย ( ทิศนา แขมมณี 2543 : 81 – 85 ) วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่าง สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรม การเล่นของผู้เรียนเทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพการเลือกและการนำเสนอเกม
เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า“ เกมการศึกษา &rdqu

วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน (Co – operative Leanning)
ความหมาย ป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนมีความร่วมมือ ผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทวนความ อธิบาย และปฏิสัมพันธ์ ผู้เรียน จะเรียนด้วยการลงมือกระทำ ผู้เรียนที่มีจุดบกพร่องจะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม
ความมุ่งหมายของการสอน ความมุ่งหมายของการเรียนแบบทำงาน รับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม โดยยังคงรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จเท่านั้น
ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้
1. แนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คน สมาชิกแต่ละคน ต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับให้ได้มากที่สุด แต่ละกลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญใน หัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ดัวย ทุกคนจะได้รับเกรดรายบุคคล และเป็นกลุ่ม
2. แบ่งกลุ่มให้คละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม และสมาชิกบนป้าย นิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม
ห้ามคนใดออกจากกลุ่มก่อนที่จะเสร็จงานกลุ่ม
แต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบที่จะให้สมาชิกทุกคนเข้าใจและทำงานให้ เสร็จสมบูรณ์
ถ้าผู้เรียนคนใดไม่เข้าใจเรื่องใด ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม ก่อนที่จะถามผู้สอน
3. สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งภายในบรรจุด้วย เนื้อหา ถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุด ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจะศึกษา เรื่องนั้นด้วยกัน เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกใน กลุ่มเดิมของตน
4. ผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามา ตรวจสอบความเข้าใจ และช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน
5. ประเมินผลและให้คะแนนแต่ละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอน เพิ่มเติมหรือไม่ให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม

ทักษะการเร้าความสนใจ
การเร้าความสนใจสำคัญอย่างยิ่ง จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนไม่เบื่อหน่าย เช่น การเล่านิทาน การดูวีดีโอคลิป เป็นต้น
เทคนิคการเร้าความสนใจ
1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน เช่น การมอง ยิ้ม ส่ายหน้า โบกมือ ผงกศรีษะ ชี้ กวักมือ เป็นต้น
2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน ควรมีการเน้นหนักเบาในคำพูด
3.การเคลื่อนไหวของครู ครูควรเปลี่ยนจุดนั่งและจุดยืนของตน
4.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรืออธิบายครูควรฝึกเน้นคำพูด สำเนียง จังหวะ

ทักษะการใช้คำถาม 
เวลาถามต้องถมอย่างมีจุดประสงค์ของการถาม ควรรู้ว่าคำถามมีหลายประเภท แต่ละประเภทใช้เพื่ออะไร
ประเภทคำถาม มีอยู่ 3 ประเภท
1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน เนคำถามง่ายๆไม่ต้องใช้คำถามลึกซึ้งอะไรมากนัก
2.คำถามเพื่อการคิดค้น เช่น ถามความเข้าใจ การนำไปใช้ การเปรียบเทียบ เหตุผล สรุปหลักการ
3.คำถามที่ขยายความคิด
   3.1การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์ ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายทาง
   3.2การวางแผน คำถามที่ผู้เสนอแนวคิด วางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่ๆ
   3.3การวิจารณ์ เป็นคำถมที่ผู้ตอบพิจารณาเรื่องราว ชี้ข้อดีข้อเสีย
   3.4การประเมินค่า คือ การนำมาเปรียบเทียบกัน
เทคนิคการใช้คำถาม
1.       ถามด้วยความมั่นใจ
2.      ถามอย่างกลมกลืน
3.      ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
4.      ให้นักเรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
5.      การเลือกถาม บางครั้งครูควรเลือกถามเพื่อจุดประสงค์ของครู
6.      การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ
7.      ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
8.      การใช้กิรกยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม
9.      การใช้คำถามรุกหมายถึง การใช้คำถามต่อเนื่อง

ที่มา https://thanaphon160333.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%

2. วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ ทีี่ใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา


วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ ทีี่ใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา
 1. สื่อ  CAI
    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)


คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม
หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทด สอบ ลักษณะของการนำเสนออาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียงเพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นรวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนและยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคนนอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่า “บทเรียนสำเร็จรูป” แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่างๆทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือกว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบอื่นๆทั้งหมดโดยเฉพาะ มีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้

2.  E-Leaning หรือบทเรียนออนไลน์


คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้นซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

3.  E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องพิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษหรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง ทั้งนี้สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext)และถ้าหากข้อมูลนั้นรวมถึงภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวจะเรียกว่า ไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia)โดยการประสานเชื่อมโยงสัมพันธ์ของเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มเดียวกัน หรืออยู่คนละแฟ้ม เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนได้ตามความต้องการไม่จำกัดเวลาและสถานที่

4. Tablet หรือเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพกพา


         "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"

5.  กระดานอัจฉริยะ  INTERACTIVE  BOARD

ภาพ : แสดงส่วนประกอบ ของกระดานอัฉริยะ

Interactive Board หรือกระดานอัจฉริยะ เป็นกระดานระบบสัมผัสที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหน้าจอโปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์ (computer projector screen) ซึ่งสามารถควบคุมโดยการสัมผัสหรือเขียนบนหน้าจอแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด

ที่มา https://sites.google.com/site/suxkarreiynkarsxnsmayhim/home

1. ความหมายของสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรมการศึกษา

ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิด การเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ 
Information is a selection from a set of available message, a selection which reduces uncertainty. สารสนเทศ คือ การเลือกสรรจากชุดของข่าวสารที่มีอยู่ เป็นการเลือกที่ช่วยลดความไม่แน่นอน หรือกล่าวได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้มีเลือกสรรมาแล้ว (เป็นข้อมูลที่มีความแน่นอนแล้ว) จากกลุ่มของข้อมูลที่มีอยู่ (Saracevic and Wood 1981 : 10)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน (Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ (Formatting) การกลั่นกรอง (Filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มี รูปแบบ (เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวีดีทัศน์) และเนื้อหาที่ตรงกับ ความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ (Alter 1996 : 29, 65, 714)
          สรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ทั้งที่เป็น ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ที่สามารถสื่อความหมายไปยังผู้ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและเข้าใจได้

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อนำคำว่า "เทคโนโลยี" และ "สารสนเทศ" มารวมกัน เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ 
 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ เข้าด้วยกัน จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
          สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร รวมไปถึงเผยแพร่ นำเสนอข้อมูลนั้น ๆ ไปยังผู้รับสาร

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ เทคนิคและวิธีกาต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย
กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ
          กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
โคลีแครดเลอร์และ เอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้าง ๆ แล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใด ๆ ก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ฟิล์มสทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปี พ.. 2523 – 2532 (ทศวรรษ1980) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
          สรุปได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ทั้งที่เป็นอุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพ เทปเสียง เป็นต้น เพื่อให้การเรียนการสอนมีความทันสมัยและเข้าใจง่าย

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.)
          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ 
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ หรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
สรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำวิธีการ หรือแนวคิดใหม่ๆ ที่ผ่านการทดลองจนมั่นใจว่า จะทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาใช้แทนหรือมาปรับให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่แล้ว


แหล่งอ้างอิง

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2555). ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7                   กันยายน 2559, จาก https://krukengsmedu3.wordpress.com/2012/06/
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. ม.ป.ป.. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7                     กันยายน 2559, จาก http://www.thaigoodview.com/library/conte
และนวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก http://bussabong.blogspot.co
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. ม.ป.ป.. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7
กันยายน 2559, จากhttps://sites.google.com/site/supoldee/thekhn
เทคโนโลยีสารสนเทศ. ม.ป.ป.. เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
เทคโนโลยีสารสนเทศ. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
นรเดช มานะมุติ. (2551). นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร ?. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. ม.ป.ป.. ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษาและ               เทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
บ้านจอมยุทธ. ม.ป.ป.. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. ม.ป.ป.. ความหมายของสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก
สารสนเทศ. ม.ป.ป.. สารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/
Anonymous. (2555). บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559,
Cheep_Thanet. ม.ป.ป.. ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบและประเภทของนวัตกรรม
การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จากhttps://thanetsupong.wordpress.com/%E0%
Kronkanok Ketkhangpul. (2557). นวัตกรรมการศึกษา คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559,
จาก https://prezi.com/mchaprqfzn28/presentation/